
เพราะเป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุเสียชีวิต หรือเปลี่ยนสภาวะจากผู้ป่วยปกติไปสู่การเป็นผู้ป่วยติดเตียงได้
เมื่ออายุมากขึ้น ระบบการกลืนอาหารทำงานช้าลงตามวัย ทุกครั้งที่กินอาหารล้วนมีความเสี่ยงต่อการสำลักได้ และด้วยโรคบางชนิดที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในระหว่างเคี้ยวหรือกลืน เช่น โรคพาร์กินสัน อัมพฤกษ์ อัมพาต และสมองเสื่อม
จิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้ มีข้อแนะนำการปรับพฤติกรรมการกินอาหารเพื่อป้องกันการสำลักและวิธีช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อผู้สูงวัยเกิดสำลัก
การปรับพฤติกรรมการกินอาหารเพื่อป้องกันการสำลัก
นั่งตัวตรงขณะกินอาหาร ช่วยให้กลืนง่าย ไหลลงกระเพาะได้เร็ว
ไม่ควรนอนทันทีหลังกินอาหาร อาหารที่ค้างอยู่ในคอหอยจะทำให้สำลัก และเป็นกรดไหลย้อน
กินอาหารช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียดที่สุด
ไม่กินตอนเหนื่อย นั่งพักก่อนกินอาหาร 30 นาที ป้องกันการสำลักอาหาร
กินขนาดพอดีคำ ตักทีละอย่าง กินทีละคำ
กินอาหารนุ่ม เคี้ยวง่าย เลี่ยงรสจัด
ไม่ดูทีวี ฟังวิทยุ พูดคุยกัน ขณะกินอาหาร
วิธีช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อผู้สูงวัยเกิดสำลัก
หยุดรับประทานอาหารทันที
จัดท่านั่งให้ก้มไปข้างหน้าเล็กน้อยหรือนอนตะแคงกึ่งคว่ำ
นำอาหาร หรือฟันปลอมที่อยู่ปากออกให้หมด
ไม่ควรล้วงคอเด็ดขาด
ถ้ามีอาการเหนื่อยหอบ หน้าซีด ปากเขียวคล้ำ ต้องรีบพบแพทย์ทันที